ส่วนประกอบของระบบโซล่าเซลล์ Off Grid

ระบบโซล่าเซลล์

ส่วนประกอบระบบโซล่าเซลล์ ออฟกริด Off grid

- แผงโซล่าเซลล์  Solar Panal

- เครื่องควบคุมการประจุ Charge Controller

- แบตเตอรี่ Battory 

- เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า Inverter

- อุปกรณ์ไฟฟ้า DC / AC

ระบบโซล่าเซลล์ มีให้เลือกใช้งาน 3 ระบบดังนี้

1.ระบบออนกริด On grid ซึ่งเป็นการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่เชื่อมต่อไปยังระบบจำหน่ายจากการไฟฟ้า

2.ระบบออฟกริด Off grid ซึ่งเป็นการติดตั้ง solar cell แบบอิสระไม่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้า

3.ระบบไฮบริด hybrid หรือลูกผสม เป็นการนำทั้งระบบโซล่าเซลล์ on grid และระบบโซล่าเซลล์ off grid มาประยุกต์รวมกันคือเมื่อมีแสงแดดก็ใช้ไฟจากโซล่ารูฟเมื่อไม่มีแสงแดดก็ใช้ไฟจากการไฟฟ้าหรือจากแบตเตอรี่ 

ระบบทั้ง 3 แบบให้เลือกในการติดตั้งโซล่าเซลล์ สามารถสรุปการเลือกใช้ดังนี้

ติดโซล่าเซลแบบ ออฟกริด เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไฟจากการไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เช่น โซล่าเซลบ้านสวนต่างๆ โซล่าเซลล์บ้านตากอากาศ

ติดโซล่าเซลแบบ ออนกริด เหมาะสำหรับโซล่าเซลล์บ้านในเมืองทั่วไปโดยเฉพาะออฟฟิตหรือโรงงาน ที่ใช้ไฟฟ้างานเวลากลางวัน

ติดโซล่าเซลแบบ ไฮบริด เหมาะสำหรับติดโซล่าเซลล์บ้านทั่วไปที่ต้องการประหยัดค่าไฟแพงแต่ต้องใช้ไฟอย่างต่อเนื่อง เช่นโรงแรม บ้านที่พักในเกาะต่างๆ

ราคาการติดตั้งโซล่าเซลล์

การติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน หรือการติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานหรือโกดังนั้น ราคาการติดตั้งโซล่าเซลล์ของระบบออนกริด on grid นั้นจะถูกกว่าระบบอื่นเนื่องจากไม่ได้ใช้แบตเตอรี่ แต่ขั้นตอนการติดตั้งโซล่าเซลล์ของระบบออนกริด on grid นั้นจะต้องมีมาตรฐานที่มากกว่าและอุปกรณ์ต่างๆจะต้องมีมาตรฐานที่มากกว่าเนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อเข้าระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า ราคาการติดตั้งโซล่าเซลล์ของระบบ off grid นั้นจะแพงกว่าระบบ on grid ตรงที่ต้องใช้แบตเตอรี่ซึ่งในปัจจุบันยังมีราคาแพงอยู่มาก หากไม่รวมแบตเตอรี่แล้วราคาการติดตั้งโซล่าเซลล์ของระบบ off grid จะถูกกว่าระบบ on grid สำหรับราคาการติดตั้งโซล่าเซลล์ของระบบ hybrid นั้นก็สูงเช่นเดียวกันกับระบบ off grid เนื่องจากมีแบตเตอรี่เช่นกัน ราคาการติดตั้งโซล่าเซลล์ของระบบ off grid และ hybrid นั้นมากน้อยขึ้นอยู่อุปกรณ์ที่ใช้ไฟในบ้านและพฤติกรรมการใช้ไฟในบ้านเพื่อที่จะคำนวณขนาดของแบตเตอรี่และแผงโซล่าเซลล์รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้ไฟ ดังนั้นราคาจึงผันแปรไปตามพฤติกรรมการใช้ไฟ ในขณะที่ราคาการติดตั้งโซล่าเซลของระบบ on grid จะผันแปรไปตามขนาดของกำลังผลิตไฟฟ้าหรือวัตต์ที่ต้องการผลิตซึ่งส่งผลต่อการลดค่าไฟ

ตำแหน่งการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา

โดยทั่วไปตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์นี้คือบริเวณหลังคาของที่อยู่อาศัยหรือหลังคาโรงงาน หลังคาโกดัง หรือหลังคาโรงรถซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์อันใด แต่บางพื้นที่อาจจะมีการติดตั้งโซล่าเซลล์บริเวณพื้นที่ว่างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ยาวนานหรือบริเวณผนังหรือแม้แต่บริเวณที่เป็นแผงกั้นแดด เป็นต้น ตำแหน่งการติดตั้งโซล่าเซลล์เหล่านี้จะต้องมีโครงสร้างที่สามารถรับน้ำหนักได้อย่างเหมาะสมตามหลักโครงสร้าง อย่างไรก็ดีแผงโซล่าเซลล์มีน้ำหนักที่ค่อนข้างเบาประมาณ 15 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเท่านั้น ซึ่งตำแหน่งการติดตั้งโซล่าเซลล์ดังที่ได้กล่าวไปจึงมักรับน้ำหนักได้อย่างไม่มีปัญหา ตำแหน่งการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาจะต้องวางแผนให้มีพื้นที่สำหรับ service โดยเฉพาะการขึ้นไปล้างทำความสะอาดแผงในอนาคต

ทิศทางในการติดตั้งแผงโซล่าเซลบนหลังคา

ประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ซีกโลกเหนือโดยดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกโดยเคลื่อนที่อ้อมทิศใต้ ดังนั้นควรหันหน้าของแผงไปทางทิศใต้ นอกจากนี้ความลาดเอียงของแผงควรมีความลาดชันประมาณ 15- 20 องศากับพื้นดินเพื่อทำให้แสงอาทิตย์กระทบตั้งฉากกับแผงพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเที่ยงให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ซึ่งเป็นหลักการในเรื่องทิศทางการติดตั้งแผงโซล่าเซล อย่างไรก็ดีสภาพพื้นที่ก็เป็นอีกปัจจัยเช่นหลังคาทรงจั่ว ทรงปันหยา หรือพื้นที่จำกัดอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถติดตั้งแผงโซล่าเซลให้ชัน15องศาได้ยกเว้นใช้อุปกรณ์พิเศษยกตัวขึ้นแต่อาจมีข้อจำกัดในเรื่องต่างๆตามมา ดังนั้นการติดตั้งแผงโซล่าเซลส่วนใหญ่ก็จะพลิกแพลงไปตามสภาพพื้นที่โดยเฉพาะเรื่องของความสวยงามก็เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง